กฏระเบียบ

วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม)

กฎระเบียบ และข้อวัตรปฏิบัติ

ของอุบาสก– อุบาสิกา  เมื่ออยู่ในวัด

  1. สาธุชนชาย – หญิงควรแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าชุดสีขาวบริสุทธิ์ ไม่แต่งตัวให้ประเจิดประเจ้อ
  2. สมาทานศีล ๕ หรือศีล ๘  ให้ไพบูลย์อย่างทั่วหน้า
  3. ไม่เสพของมึนเมาทุกอย่าง ระหว่างเข้าวัดหรือขณะอยู่ปฏิบัติธรรม
  4. พูดน้อย ไม่เสียงดังก่อความรำคาญให้แก่ผู้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง
  5. เก็บสิ่งของใช้ต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยภายในที่อยู่ของตน
  6. รักษาความสะอาดห้องนอน ห้องน้ำ  ให้สะอาดสวยงาม
  7. ขณะเดินไปมา ควรระวังอย่าวิ่ง อันเป็นเหตุให้ขาดความสำรวมทางกาย
  8. เปิด ปิด  ประตู  หน้าต่าง ให้เบา ๆ  อย่าให้เสียงดัง
  9. รับประทานอาหาร ห้ามพูดคุยกัน ควรสงบเรียบร้อย
  10. ภาชนะที่ใช้ เมื่อเสร็จธุระ ควรเก็บไว้ที่เดิม
  11. ถ้าอยู่เฉพาะกลด หรือที่อยู่ของตน  ห้ามร้องตะโกนต่อมิตรสหาย
  12. ควรรีบเร่งทำธุระต่าง ๆ ให้เรียบร้อยก่อนออกปฏิบัติธรรม และพร้อมเพรียงกันก่อนเวลา ทุกครั้งโดยมีกติกาประจำใจว่าคอยมิตรสหาย ดีกว่าให้มิตรสหายมาคอย
  13. ทำตามกฎระเบียบของทางวัด เคารพธรรมเกรงวินัยไม่ควรล่วงเกิน จะเป็นสิ่งที่ดีเยี่ยม
  14. ชายหญิงทุกคน จงให้ความรู้เคารพซึ่งกันและกัน  ไม่ควรดูหมิ่นน้ำใจกัน  ขณะมาอยู่วัด มาอบรมปฏิบัติธรรมอยู่
  15. ควรเคารพบูชาเทิดทูน ครูอาจารย์ สถานที่  ธรรมะอย่างสมบูรณ์  ด้วยกาย วาจา ใจ ตลอดชีวิตนี้  จะไม่ทำให้ใครหนักใจเพราะความประพฤติของตนเอง.

ระเบียบมารยาท

ของของผู้ที่เข้าปฏิบัติธรรม

จริยาศึกษา (จรรยามารยาท)

จรรยามารยาทที่ควรสร้างสมอบรม

วาจา    การเปิด – ปิด  วาจา  ควรสงบเคารพสถานที่  ธรรมะ   อาจารย์  ไม่ควรเอะอะโวยวายทั้งในที่ประชุมนอกที่ประชุม  ในที่พัก  และ นอกที่พัก  การพูดจาให้อ่อนน้อม  อ่อนหวาน 

กายา  กายอ่อนน้อม  ไม่กระโดดโลดเต้นแข็งกระด้าง   ควรสำรวมระมัดระวังตัวให้มีความสง่า

            น่ารักทุกอิริยาบถน้อยใหญ่.

จิตตา มีใจอ่อนโยนนอบน้อม ควรเคารพเชื่อฟังครูบาอาจารย์ พระคุณเจ้าด้วยดีไม่หัวดื้อถือตัวไม่มัวขัดใจ  ทะเลาะเบาะแว้งกัน  สามัคคีมีให้มั่น  เมตตากันพร้อมอภัยเสมอ

การบริโภค  ควรงดการพูดจา   บริโภคด้วยอาการสงบ  สำรวม  มีสติ    การรักษาความสะอาด ที่พัก  ห้องน้ำ บริเวณสถานที่ต่างๆ ให้เรียบร้อยสวยงาม

การรักษาภาชนะ  เครื่องใช้  ผ้าส่วนตัว  ควรตากเก็บให้เป็นระเบียบ

การใช้ไฟฟ้า  เปิด  –  ปิด  ให้ช่วยกันประหยัด  อย่ามักง่ายขายตัว

หัตถศึกษา

(การใช้มือ )   ลงมือฝึกหัด  ยืน  เดิน  นั่ง  นอน  ด้วยวิปัสสนา

พลศึกษา

       ( การใช้กำลัง )  บริหารกายให้มีอนามัย  บริหารใจให้มีธรรมะเลิกละ

       อบายมุข  สิ่งมึนเมาทุกชนิด  มีธรรมคุ้มครองกาย  – จิต  ตลอดอายุขัย

พุทธิศึกษา

  (การใช้ปัญญา)   การศึกษาธรรมควรเคารพ  ไม่คุยหยิกหยอกเล่นกัน    เดินไปเดินมา

กฎระเบียบของผู้มาเข้าอบรมปฏิบัติธรรมภายในวัดนาหลวง

กฎระเบียบในการเข้าที่ประชุม

 

๑.ต้องถอดรองเท้าเก็บไว้ในที่เหมาะสมและเรียบร้อยสวยงาม หรือเก็บที่กลดของตน

๒.ไม่คุยกันในขณะที่ทำวัตรสวดมนต์ ทำสมาธิ ฟังธรรมะ

ไม่ลุกไปไหนมาไหนขณะที่ทำวัตรเช้า – เย็น นั่งสมาธิ และฟังธรรม

๓.ไม่ควรเปิดเครื่องสื่อสารต่างๆ  วิทยุสื่อสาร มือถือ ขณะเข้าประชุม ทำวัตรสวดมนต์ ฟังธรรม นั่งสมาธิ โดยเด็ดขาด

๔.อย่าส่งเสียงดัง ในขณะเข้าห้องน้ำ อาบน้ำ ตั้งแถวรอก่อนจะไปรับอาหารหนัก  อาหารเบา ขณะรับ

ประทานอาหาร เวลาปล่อยไปพักผ่อน และแยกกลุ่มไปปฏิบัติ ขณะเดินผ่านกุฏิพระควรใช้เสียงเบาๆ เพราะจะรบกวนพระโยคาวจรเจ้ากำลังปฏิบัติธรรมอยู่

๕.ไม่พึงไปในสถานที่ต่างๆ  ตามลำพัง ก่อนได้รับอนุญาตจากพระพี่เลี้ยง หรืออาจารย์ผู้เป็นพี่เลี้ยง เมื่อท่านพิจารณาเห็นสมควรแล้วค่อยไป

๖.ไม่ทิ้งขยะ  ในที่ที่ไม่มีมีถังขยะ เช่น ห้องประชุม ห้องน้ำ ห้องนอน ตามทางเดิน กุฏิพระ บริเวณโรงอุโบสถ วิหาร ลานธรรม ลานเจดีย์ สถานที่สาธารณประโยชน์ของทางวัด ผู้หญิงห้ามทิ้งผ้าอนามัยลงในโถส้วม   จะเป็นบาปมหันต์

๗.ต้องช่วยกันรักษาความสะอาด ในสถานที่ต่างๆ เช่น ห้องน้ำ ห้องนอนผ้าห่ม  หมอน เสื่อ  มุ้งกลด  กลด ภาชนะใส่อาหาร แก้วน้ำ ไฟฟ้า  น้ำใช้  น้ำดื่ม  ร่ม ฯลฯ  ของสงฆ์ทุกชนิด

๘.ไม่ทำลายต้นไม้สิ่งแวดล้อม ในขณะที่เดินผ่านไปมา  ในสถานที่ต่างๆ  เช่น ถอน หัก  เด็ด แตะ เก็บ เราควรช่วยกันอนุรักษ์ไว้  และช่วยกันปลูกไว้ดีกว่า

๙.ต้องตรงต่อเวลาเสมอ   ไม่ว่าจะทำวัตรเช้า  –  เย็น  เรียกเข้าที่ประชุม  มาปฏิบัติธรรม ฟังธรรม รับประทาน อาหาร  การพักผ่อน  หลับนอน  ตื่นเป็นเวลา (ยกเว้นป่วยไม่สบาย ทำหน้าที่สำคัญที่มอบหมายให้ เช่น ไปช่วยทำอาหารที่โรงครัว)     

๑๐.ไม่พึงเสพสิ่งเสพติด และของมึนเมาทุกชนิด ให้ละทิ้งไว้ก่อนหรือเลิกโดยเด็ดขาด ในขณะที่เราเข้ามาอบรมปฏิบัติธรรม (เสพธรรมะดีกว่า)

๑๑. พึงระวังอันตรายจากอสรพิษ แมลงต่างๆ  ที่มีพิษ  เช่น  งู  แตน  ต่อ ฯลฯ

๑๒.ต้องละพยศ ลดมานะ ละตำแหน่ง เลิกแข่งดี ไม่ยกหู ชูหาง จองหอง พองขน ถือตัวตนทั้งชายหญิง ทุกคนมีสภาพเดียวกัน คือกองขันธ์  ๕  และเกิด  แก่   เจ็บ  ตายเท่ากันหมด

๑๓.ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมและพระพี่เลี้ยงให้ทราบก่อน และควรนำยาของตนมาด้วย

๑๔.ท่านใดที่นำสิ่งของที่มีค่า เช่น ปัจจัย (เงิน) เป็นต้น ให้เก็บไว้ในที่ปลอดภัย หรือนำมาฝากไว้ กับพระเจ้าหน้าที่ ครูอาจารย์ ก็ได้.