คำถามที่พบบ่อย

วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม)

คำถามที่พบบ่อย

วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม)

 คำแนะนำสำหรับผู้มาปฏิบัติธรรม

  • แต่งกายสุภาพ ถูกกาลเทศะ เช่น เสื้อขาว (ไม่บางจนเกินไป) กางเกงขายาว,กระโปรงยาว สีขาวหรือดำ 
  • กรุณาจัดเตรียมยารักษาโรคประจำตัวมาให้พร้อม
  • สำหรับผู้มีอาการภูมิแพ้ ควรจัดเตรียมหน้ากากอนามัยมาด้วย
  • ควรจัดเตรียมไฟฉายมาด้วย
  • ๔.๐๐ น. สัญญาณระฆังดัง
  • ๔.๓๐ น. ทำวัตรเช้า 
  • ๕.๓๑-๗.๔๐ น.บำเพ็ญประโยชน์ ทำความสะอาดห้องอาหาร กวาดใบไม้ ล้างห้องน้ำ กวาดลาน 
  • ๗.๔๕ น. สัญญาณกลองดัง
  • ๘.๓๐ น.ทานอาหารเช้า ล้างจาน
  • ๑๐.๐๐ น.- ๑๘.๐๐ น. ปฏิบัติธรรม เดินจงกรม  บำเพ็ญประโยชน์ เช่น  ทำความสะอาดศาลาเรือ โบสถ์ ห้องสมุด พักผ่อนตามสะดวก
  • ๑๘.๐๐ สัญญาณระฆังดัง
  • ๑๘.๓๐ น. ทำวัตรเย็น
  • ๒๐.๓๐ น. พักผ่อน

ผู้มีจิตศรัทธาสามารถถวายสังฆทานได้ใน วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่ ๐๗.๓๐ – ๑๐.๔๕ น. ส่วนวันเสาร์ อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่ ๐๗.๓๐ – ๑๕.๐๐ น. โดยขอเว้นช่วงเวลาในการฉันภัตตาหารเช้า ๐๘.๐๐ น. และภัตตาหารเพล ๑๑.๐๐ น. ของทุกวัน

ทั้งนี้ หลังเวลา ๑๒.๐๐ น. ของดการรับถวายสังฆทานที่เป็นอาหารทั้งสดและแห้ง เพื่อเกื้อกูลต่อพระธรรมวินัย และหากต้องการนิมนต์พระภิกษุมากกว่า ๑ รูป เพื่อถวายสังฆทานหรือประกอบพิธี โปรดแจ้งนิมนต์ล่วงหน้าทางโทรศัพท์

การทำบุญทำได้หลายวิธี ทั้งการให้ทาน (ให้วัตถุ ให้คำสอน ให้คำแนะนำ ให้ธรรมะ ให้เวลากับพ่อแม่ ให้อภัย) การรักษาศีล (ไม่เบียดเบียนทำร้ายสัตว์, ไม่ลักขโมยฉ้อโกง, ไม่ประพฤติผิดในกาม, ไม่พูดโกหก เพ้อเจ้อ ส่อเสียด หยาบคาย, ไม่ดื่มสุรา ไม่ใช้ยาเสพติด) และการภาวนา (พัฒนาจิตใจและปัญญา ด้วยการศึกษา สนทนาธรรม รักษาใจให้ผ่องแผ้ว สดใส พิจารณาชีวิตตามความเป็นจริง)

แต่ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่า ต้องการทำบุญด้วยการถวายสังฆทาน ก็ควรให้อย่างสัตบุรุษ คือยึดหลักธรรมที่เรียกว่า สัปปุริสทาน ๘ ได้แก่

(๑) ให้ของสะอาด : เลือกสิ่งที่บริสุทธิ์ ได้มาโดยสุจริต

(๒) ให้ของประณีต : ให้ของที่ดี ตามกำลังศรัทธา อย่างรู้จักประมาณ

(๓) ให้ถูกเวลา : เช่นถวายภัตตาหารพระก่อนเวลาเพลเท่านั้น ถ้าจะถวายหลังเวลาเที่ยงไปแล้วก็อาจจะถวายเครื่องไทยธรรม ดอกไม้ธูปเทียน น้ำปานะต่างๆ ที่ไม่ขัดต่อพระวินัย เป็นต้น

(๔) ให้ของที่สมควรแก่ผู้รับจะนำไปใช้ได้ : เช่นถ้าจะถวายสังฆทาน ก็ควรถวายของที่สมควรแก่พระ ไม่ใช่สุรา ยาเสพติด เครื่องประดับตกแต่ง บางคนคิดว่าจะถวายสังฆทานอุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับก็ต้องนำของที่ผู้ล่วงลับชอบใจหรือใช้อยู่เป็นประจำมาถวายพระ นี่เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะของเหล่านั้นถวายแก่พระ ไม่ใช่การทำพิธีให้ของนั้นล่องลอยไปสู่ผู้ล่วงลับ บุญเกิดจากการให้ มิใช่อยู่ที่ตัวสิ่งของ

(๕) ให้ด้วยวิจารณญาณ ให้เกิดผลเกิดประโยชน์มาก : ของที่จะให้เป็นทานจะมีราคาสูงหรือ ต่ำไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่ควรเป็นสิ่งที่ใช้ประโยชน์ได้จริง การจัดหาของน้อยชิ้นที่ใช้งานได้ อาจจะดีกว่าการจัดของสารพัดอย่างลงในถังให้ดูครบครันแต่นำมาใช้ หรือแม้แต่จะจัดเก็บก็ยากลำบาก

(๖) ให้ประจำสม่ำเสมอ

(๗) เมื่อให้ ทำจิตให้ผ่องใส

(๘) ให้แล้ว เบิกบานใจ : ไม่คิดกังวลว่าผู้รับจำใช้หรือไม่ จะยินดีแค่ไหน เมื่อให้ไปแล้วก็ไม่ยึดถือเป็นของเรา ตัวเราต่อไปอีก

เมื่อทำได้ดังนี้ หรือฝึกฝนที่จะทำเช่นนี้ ก็ชื่อว่าได้ให้อย่างผู้มีปัญญา เป็นการให้ที่มีประโยชน์ มีอานิสงส์มาก มีอานิสงส์ใหญ่ น่าอนุโมทนาชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง

ผู้ที่มีความประสงค์จะขอบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ต้องมีระยะเวลาในการบรรพชาอุปสมบท ๑ เดือน หรือ ๓ เดือน เป็นอย่างน้อย เพราะวัดญาณเวศกวัน มุ่งเน้นการศึกษาและปฏิบัติเพื่อฝึกฝนพัฒนาตนเอง โดยจะมีการถวายความรู้แก่ภิกษุผู้บวชใหม่ตลอดระยะเวลา ๑ เดือน มิได้มุ่งเน้นเฉพาะการบรรพชา-อุปสมบท ตามประเพณีนิยมเท่านั้น

กุลบุตรผู้มีศรัทธาคนใดประสงค์จะบวชเรียนที่วัดญาณเวศกวัน สามารถติดต่อเข้ารับการคัดเลือก ณ อุโบสถวัดญาณเวศกวัน ในวันและเวลาดังต่อไปนี้

รุ่นที่ ๑ (มาฆบูชา) และ รุ่นที่ ๒ (วิสาขบูชา) ของปี
เขียนใบสมัครและพูดคุยในวันที่ ๑๐ ธันวาคม (วันรัฐธรรมนูญ) ตั้งแต่เวลา ๑๒.๐๐ น.

รุ่นที่ ๓ (เข้าพรรษา) และ รุ่นที่ ๔ (สิ้นปี) ของปี
เขียนใบสมัครและพูดคุยในวันที่ ๖ เมษายน (วันจักรี) ตั้งแต่เวลา ๑๒.๐๐ น.

ประกาศผลพิจารณา ภายใน ๒ สัปดาห์ หลังจากวันคัดเลือก

ทั้งนี้ทางวัดจะกำหนดวันเวลาบรรพชา-อุปสมบทและจำนวนผู้บวช โดยพิจารณาจากความพร้อมของพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ ตลอดจน ความพร้อมเพรียงกันของผู้ประสงค์จะบวช และจำนวนเสนาสนะที่สามารถรองรับได้

  • ในพระพุทธศาสนา บุญ (บาลี: ปุญฺญ; สันสกฤต: ปุณฺย) หมายถึง คุณงามความดี ความประพฤติชอบทางกายวาจาและใจ เรียกอีกอย่างว่ากุศล ในพระไตรปิฎกมักใช้คำว่า ปุญฺญ ตรงกันข้ามกับคำว่า บาป หรือ อปุญฺญ แต่ในคัมภีร์ชั้นหลังมักใช้คำว่า บาป มากกว่ากัน

     

    ในอรรถกถากล่าวถึงเผื่อแผ่บุญไว้ว่าสามารถเผื่อแผ่เพิ่มให้แก่ผู้อื่นได้โดยไม่มีประมาณ เปรียบได้กับการจุดเทียนส่งต่อไปเรื่อย ๆ คือผู้จุดก็มีความสว่างอยู่ตามเดิม และความสว่างยังเพิ่มไปอีกกว้างขวางได้

     

    วิธีทำบุญ 

    ในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ปุญญกิริยาวัตถุสูตร ระบุวิธีการทำบุญไว้ 3 อย่าง เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ได้แก่

    ทานมัย ด้วยการให้

    ศีลมัย ด้วยการรักษาศีล หรือประพฤติดีมีระเบียบวินัย

    ภาวนามัย ด้วยการเจริญภาวนา คือฝึกอบรมจิตใจ

    คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาสังคีติสูตร ขยายความเพิ่มอีก 7 ประการ จึงรวมเป็น บุญกิริยาวัตถุ 10

    ได้แก่

    อปจายนมัย ด้วยการประพฤติอ่อนน้อม

    เวยยาวัจจมัย ด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้

    ปัตติทานมัย ด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น

    ปัตตานุโมทนามัย ด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น

    ธัมมัสสวนมัย ด้วยการฟังธรรม

    ธัมมเทสนามัย ด้วยการสั่งสอนธรรม

    ทิฏฐุชุกัมม์ ด้วยการทำความเห็นให้ตรง

    อปจายนมัยและเวยยาวัจจมัยจัดเข้าในสีลมัย ปัตติทานมัยและปัตตานุโมทนามัยจัดเข้าในทานมัย ธัมมัสสวนมัยและธัมมเทสนามัยจัดเข้าในภาวนามัย ทิฏฐุชุกัมม์ได้ทั้งทาน ศีล และภาวนา

     

    อ้างอิง แก้ไข

     พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542

     พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์

     Marasinghe, MMJ (2003). “Puñña”. In Malalasekera, GP; Weeraratne, WG. Encylopaedia of Buddhism (ใน ภาษาอังกฤษ) 7. สาธารณรัฐศรีลังกา: รัฐบาลศรีลังกา.

     อรรถกถาพระไตรปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต อรรถกถาสูตรที่ ๕ ประวัติพระอนุรุทธเถระ . อรรถกถาพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [1]. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 1-7-52

     ปุญญกิริยาวัตถุสูตร, พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย

    [http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221&p=3 อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สังคีติสูตร]

    พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย