ประวัติวัดนาหลวง

วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม)

ประวัติความเป็นมา

วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม)

วัดนาหลวง  (อภิญญาเทสิตธรรม)  ตั้งอยู่บนยอดเขาภู่ย่าอู่ ใกล้หมู่บ้านนาหลวง  อยู่ในเขตตำบลคำด้วง  อำเภอบ้านผือ  จังหวัดอุดรธานี  ห่างจากตัวอำเภอบ้านผือ  ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๔๖ กิโลเมตร

ความเป็นมาเกี่ยวกับการตั้งวัด มีว่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙  พระภาวนาวิสุทธาจารย์  (หลวงพ่อทองใบ ปภัสฺสโร)  เป็นพระสงฆ์ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ  ปรารถนาที่จะเผยแผ่ให้พุทธศาสนิกชนได้ซาบซึ้งในธรรมรสนั้น  ทั้งยังปรารถนาที่จะยังสันติธรรมให้เกิดมีแก่สังคมโลก  จึงออกแสวงหาที่สัปปายะ  ในที่สุดได้ค้นพบภูย่าอู่  ต้นไทรคู่ตามนิมิต  ตรงจุดที่ชาวบ้านในท้องถิ่นเรียกว่า “ถ้ำเกิ้ง”  อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ  ป่าน้ำโสม-นายูง  บ้านนาหลวง  ตำบลคำด้วง  อำเภอบ้านผือ  จังหวัดอุดรธานี  เมื่อพิจารณาสภาพทางภูมิศาสตร์  เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสมกับการที่จะบำเพ็ญบารมีธรรมปฏิบัติธรรม ให้เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป  ทั้งยังเป็นสถานที่ที่เห็นเป็นชัยภูมิเหมาะที่จะก่อตั้งเป็นวัดถาวรต่อไปในอนาคต  จึงตัดสินใจเลือกสถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งวัดแต่นั้นมา

ต่อมาเมื่อวันที่ ๙ มกราคม  ๒๕๒๙  โดยการนำของท่านเจ้าคุณ  (หลวงพ่อทองใบ ปภสฺสโร)  พร้อมด้วยพระภิกษุอีก ๕ รูป  สามเณร ๒ รูป  ได้เลือกปักกลดใต้ร่มไทรคู่บนภูย่าอู่  มีศรัทธาสาธุชนชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง  พร้อมทั้งโยมอุปัฏฐากได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างกุฏิชั่วคราวขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกตามอัตภาพ

ความเป็นมาเกี่ยวกับการตั้งวัด มีว่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙  พระภาวนาวิสุทธาจารย์  (หลวงพ่อทองใบ ปภัสฺสโร)  เป็นพระสงฆ์ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ  ปรารถนาที่จะเผยแผ่ให้พุทธศาสนิกชนได้ซาบซึ้งในธรรมรสนั้น  ทั้งยังปรารถนาที่จะยังสันติธรรมให้เกิดมีแก่สังคมโลก  จึงออกแสวงหาที่สัปปายะ  ในที่สุดได้ค้นพบภูย่าอู่  ต้นไทรคู่ตามนิมิต  ตรงจุดที่ชาวบ้านในท้องถิ่นเรียกว่า “ถ้ำเกิ้ง”  อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ  ป่าน้ำโสม-นายูง  บ้านนาหลวง  ตำบลคำด้วง  อำเภอบ้านผือ  จังหวัดอุดรธานี  เมื่อพิจารณาสภาพทางภูมิศาสตร์  เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสมกับการที่จะบำเพ็ญบารมีธรรมปฏิบัติธรรม ให้เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป  ทั้งยังเป็นสถานที่ที่เห็นเป็นชัยภูมิเหมาะที่จะก่อตั้งเป็นวัดถาวรต่อไปในอนาคต  จึงตัดสินใจเลือกสถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งวัดแต่นั้นมา

ต่อมาเมื่อวันที่ ๙ มกราคม  ๒๕๒๙  โดยการนำของท่านเจ้าคุณ  (หลวงพ่อทองใบ ปภสฺสโร)  พร้อมด้วยพระภิกษุอีก ๕ รูป  สามเณร ๒ รูป  ได้เลือกปักกลดใต้ร่มไทรคู่บนภูย่าอู่  มีศรัทธาสาธุชนชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง  พร้อมทั้งโยมอุปัฏฐากได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างกุฏิชั่วคราวขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกตามอัตภาพ

ท่านเจ้าคุณพระภาวนาวิสุทธาจารย์  เป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย  มีจริยวัตรงดงามสม่ำเสมอเหมาะสมแก่  สมณะสารูป  มีความแน่วแน่มุ่งมั่นเสียสละ  เผยแผ่เมตตาธรรมต่อมหาชนไม่มีประมาณ  ทำให้มีศิษยานุศิษย์เลื่อมใสศรัทธาเพิ่มมากขึ้นอย่างกว้างขวาง  บุคคลเหล่านั้นได้ร่วมใจกันบริจาคทุนทรัพย์จัดสร้างเสนาสนะ  เครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นภายในวัดขึ้น

แต่สถานภาพยังคงเป็นสำนักปฏิบัติธรรม  แม้กระนั้นในแต่ละปี  มีพระภิกษุเข้าอยู่จำพรรษากว่าร้อยรูป  ซึ่งล้วนมีความเคร่งครัดพากเพียรทั้งด้านสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน  ได้ตั้งชื่อสำนักปฏิบัติธรรมแห่งนี้ว่า  วัดอภิญญาเทสิตธรรม  และเนื่องจากตั้งอยู่บนภูย่าอู่  คนทั่วไปจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  วัดภูย่าอู่  ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันติดปากเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อวันที่  ๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๓  กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศแต่งตั้งให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์มีชื่อว่า  “วัดนาหลวง”

ปัจจุบันสำนักงานเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานีได้ประกาศแต่งตั้งวัดนาหลวง  ให้เป็นสำนักวิปัสสนาธุระประจำจังหวัดอุดรธานี  โดยประกาศ  ณ วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๔ เป็นต้นมา  โดยมีพระราชสิทธาจารย์ เป็นประธานสงฆ์  ทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมให้แก่พระสงฆ์  นักเรียน  นักศึกษา  และประชาชนในเขตจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดใกล้เคียง  ให้ได้รับประโยชน์ตน  ประโยชน์ผู้อื่น  และประโยชน์อย่างยิ่ง  เพื่อเกื้อกูลการธำรงส่งเสริมสืบทอดคำสอนของ     พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป 

ผลงานของวัดที่ดำเนินการมาได้สนองเจตนารมณ์ตามประกาศได้ผลเป็นอย่างดี  ทั้งนี้   มีบุคคลสำคัญที่มีความสามารถในการบริหารจัดการคือพระภาวนาธรรมาภินันท์(พระบุญทัน อคฺคธมฺโม)   ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส  และพระครูปัญญาสุตาภรณ์ (พระมหาสำรี ธมฺมจาโร)  เป็นรองเจ้าอาวาส  ภายใต้การอำนวยการเป็นประธานสงฆ์  คือพระราชสิทธาจารย์ (หลวงพ่อทองใบ  ปภัสสโร)

สถานที่ตั้ง

วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม)

วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม)  ตั้งอยู่บนยอดเขาภูย่าอู่  ซึ่งเป็นภูเขาลูกหนึ่งในกลุ่มเทือกเขา  ภูพาน  อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำโสม-นายูง  อยู่ห่างจากตัวอำเภอบ้านผือไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๔๖ กิโลเมตร  ห่างจากหมู่บ้านนาหลวงประมาณ ๕ กิโลเมตร  บริเวณที่ปลูกสร้างอาคารเสนาสนะต่างๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในศาสนกิจและที่พำนักอาศัยของพระภิกษุสงฆ์  สามเณร  แม่ชี  ตลอดจนสถานที่ที่ใช้ในการอบรมพุทธศาสนิกชน  ผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและต้องการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  ถือศีลบำเพ็ญภาวนา  มีประมาณ ๑๕ ไร่  สำนักงานป่าไม้จังหวัดอุดรธานี  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้ทางวัดช่วยดูแลป่าอุทยานแห่งชาติที่อยู่ล้อมรอบ  มีเนื้อที่ทั้งหมดโดยประมาณ ๒๕,๐๐๐ ไร่  ทั้งนี้เพื่อเป็นการอาศัยบารมีพระราชสิทธาจารย์  ประธานสงฆ์แห่งวัดนาหลวง  ช่วยป้องกันการบุกรุกตัดไม้บนภูเขาแห่งนี้  มีทั้งส่วนที่เป็นป่าเดิมและป่าใหม่ที่ปลูกขึ้นทดแทน  ได้รับ   การดูแลรักษาอย่างดี  เป็นแบบอย่างในการรักษาระบบนิเวศ  สร้างความสมดุลให้ธรรมชาติ

อาณาเขตติดต่อ

ของวัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม)

อาณาเขตติดต่อ

ของวัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม)